วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554


เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญ ต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณ
ธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้น ดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไป ตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่ สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะ ศาสนา ซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศ ไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็น ว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงาม เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้ง แต่โบราณกาล เป็นต้น
ความหมายของประเพณี
ประเพณี คือ ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน และสืบต่อกัน มานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี
คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่าขนบธรรม เนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น
  • ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง
  • ธรรมเนียม มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา
    และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำ การปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
    โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคม ยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆ ฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับ ประเทศชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่ง หรือตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในคติพระพุทธศาสนา และพราหมณ์มาแต่โบราณ
ความเป็นมาของประเพณี
ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม โดยความเชื่อของคนในสังคม ต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบ สาเหตุต่างๆ ฉะนั้นเมื่อเวลาเกิดภัยพิบัติขึ้น มนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตนคิดว่าจะช่วยได้ พอภัย นั้นผ่านพ้นไปแล้ว มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆ ด้วยการทำพิธีบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ตาม ความเชื่อ ความรู้ของตน เมื่อความประพฤตินั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมหรือเป็นระเบียบ แบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกัน สืบต่อๆ กันจนกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้นๆ


ประเพณีและวัฒนธรรม เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกัน คือ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดย ตรง แต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนในส่วนรวมร่วมกันสร้างให้มีขึ้น แล้วถ่ายทอดให้แก่กันได้ด้วยลักษณะและวิธี การต่างๆ ว่าโดยเนื้อหาของประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่ในจิตใจของประชาชน เกี่ยวกับเรื่องความคิดเห็น ความรู้สึก ความเชื่อ ซึ่งสะสมและสืบต่อร่วมกันมานานในส่วนรวม จนเกิดความเคยชิน เรียกว่า นิสัยสังคม หรือประเพณี
ประเภทของประเพณี
ประเภทของประเพณีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.       จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดสือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อ
เนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคม ต้องทำ ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว จะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น เช่น ลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคนเนรคุณหรือเป็นลูก อกตัญญู จารีตประเพณีของแต่ละสังคมนั้นย่อมไม่เหมือนกัน เพราะมีค่านิยมที่ยึดถือต่างกัน การนำ เอาจารีตประเพณีของตนไปเปรียบเทียบกับของคนอื่น แล้วตัดสินว่าดีหรือเลวกว่าของตน ย่อมเป็น สิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อของแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกัน ไป
2.       ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมาทั้ง โดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ อย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น โรงเรียน มีผู้สอน มีผู้เรียน มีระเบียบการรับสมัครการ เข้าเรียน การสอบไล่ เป็นต้น ทางอ้อม ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆ ไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้ แน่นอน แต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่า หรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคมปฏิบัติ เช่น ประ เพณีเกี่ยวกับการเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต หรือประเพณีเกี่ยวกับเทศ กาล ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
3.       ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ ไม่มีระเบียบแบบ แผนเหมือนขนบประเพณี หรือมีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคน ปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชิน และไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่มีมานานและใช้กัน อย่างแพร่หลาย ส่วนมากเป็นมารยาทในด้านต่างๆ เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น ฯลฯ ธรรมเนียมประเพณีเป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำ แม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะ
ที่มาของข้อมูล : วิกิพีเดิย